วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ประวัติขนมชั้น

ประวัติขนมชั้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติ ขนมชั้น


ประวัติความเป็นมา สมัยสุโขทัย ขนมไทยมีที่มาคู่กับชนชาติไทย จากประวัติศาสตร์ที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศคือ จีนและอินเดียในสมัยสุโขทัย มีส่วนช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ด้านอาหารการกินร่วมไปด้วยและเริ่มมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศ ทั้งชาติตะวันออกและตะวันตก ไทยเรายิ่งรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนบางทีคนรุ่นหลังแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า อะไรคือขนมไทยแท้ๆ อะไรที่เรายืมเค้ามา เช่น ขนมชั้น

ประวัติความเป็นมาของข้าวต้มมัด

ประวัติความเป็นมาของข้าวต้มมัด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติ ข้าวต้มมัด


ข้าวต้มมัดเป็นหนึ่งในขนมไทย ที่น้อยคนนักจอกว่าไม่รู้จัก เนื่องจากเป็นขนมที่มีประโยชน์ และมีคุณค่าทางอาหาร สามารถหาวัตถุดิบในการทำได้ง่ายในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังเป็นขนมที่นำข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทยนำมาประยุกต์ ปรุงแต่งเป็นขนมหวาน จึงถือได้ว่า ข้าวต้มมัด” เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษไทย
    “ข้าวต้มมัด มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น อาทิเช่น ทางภาคเหนือจะเรียกข้าวต้มมัดว่า ข้าวต้มผัด ทางภาคกลางเรียกว่า ข้าวต้มมัด เรียกตามรูปลักษณ์ที่มีห่อและมัดเป็นกลีบโดยใช้ใบตองและเชือกกล้วย ส่วนทางภาคใต้โดยเฉพาะนครศรีธรรมราชจะเรียกว่า เหนียวห่อกล้วย เพราะลักษณะที่เห็น ประกอบกับวิธีการทำที่เป็นการนำข้าวเหนียวมาห่อกล้วยเอาไว้และห่อปิดด้วยใบตองอีกชั้นหนึ่ง นอกจากนี้ บางท้องถิ่นจะห่อข้าวต้มมัดเป็นทรงกรวยโดยใช้ใบกระพ้อแต่ไม่มัด หรือห่อเป็นก้อนด้วยใบเตยหรือใบอ้อย แล้วไว้หางยาว ซึ่งจะเรียกว่า ข้าวต้มลูกโยน
    ในประเพณีไทยนั้น ข้าวต้มมัดจัดเป็นขนมยอดนิยมที่มักทำไว้กินเป็นของว่างหรือเอาไปร่วมงานบุญ บ้างก็ทำไส้ถั่วดำ บ้างก็ทำไส้กล้วย บ้างก็ไม่มีไส้ ซึ่งจะเรียกว่า “ข้าวต้มน้ำวุ้น
    นอกจากนี้เรามักจัดข้าวต้มมัดไปถวายพระในงานบุญวันออกพรรษา หรืองานตักบาตร เทโว เหตุที่คนไทยนิยมนำข้าวต้มมัดไปถวายพระนั้น มีเรื่องเล่ากันว่า เกิดจากชาวเมืองในสมัยพระพุทธกาลที่ไปคอยรับเสด็จองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านำไปทำบุญตักบาตรเพราะเห็นว่าเป็นของสะดวกและรับประทานง่าย บ้างก็ว่าการนำข้าวต้มมัดมาใส่บาตรทำบุญจนเกิดขึ้นเป็นธรรมเนียมนั้น มีจุดประสงค์เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ใช้เป็นเสบียงในการเดินทางไปเผยแผ่พระธรรมคำสอน ส่วนคนไทยที่นิยมทำข้าวต้มลูกโยนไปใส่บาตรนั้น เล่ากันว่าเกิดจากชาวบ้านในสมัยพระพุทธกาลที่ไปเบียดเสียดต้องการจะตักบาตรองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่เข้าไปไม่ถึงพระองค์จึงต้องใช้วิธีโยนข้าวต้มมัดนี้แทน 
    การทำข้าวต้มมัดนั้น ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่หลายคนคิด เพียงแต่รู้เคล็ดลับในการทำเท่านั้น เริ่มตั้งแต่การเลือกใบตอง ใบตองที่ห่อข้าวต้มมัด จะต้องเป็นใบอ่อนๆและช่วงใบสั้นๆ ใบตองที่ตัดมาจากต้นยังไม่สามารถนำมาห่อได้ ต้องทิ้งค้างคืนไว้ ๑ คืน เพื่อให้ใบตองนิ่ม เพื่อที่เมื่อนำมาห่อแล้วใบตองจะได้ไม่แตก ส่วนการวางใบตองสำหรับห่อนั้นให้วางตามขวาง โดยฉีกใบตองกว้าง ๗-๘ นิ้ว นำมาวางซ้อนกันโดยสลับหัวท้าย และที่สำคัญต้องทำความสะอาดใบตองให้สะอาด
    ส่วนกล้วยที่นำมาทำข้าวต้มมัดนั้น ควรเป็นกล้วยสวนที่งอมจัด เพื่อให้เวลานึ่งหรือต้มแล้วไส้ของข้าวต้มมัดจะได้สีแดงสวย นอกจากนี้ ยังสามารถใส่ไส้อื่นได้อีกด้วย เช่น ไส้เผือก หรือไส้ถั่ว เพียงเท่านี้เราก็จะได้ข้าวต้มมัดที่แสนอร่อยและมีประโยชน์ไว้รับประทานแทนขนมกรุบกรอบที่ไร้ประโยชน์ ที่สำคัญยังเป็นการสร้างกิจกรรมในครอบครัวได้อีกทางหนึ่งด้วย
    “ข้าวต้มมัด ไม่ใช่เพียงขนมที่ใช้รับประทานเท่านั้น หากแต่ข้าวต้มมัดยังแฝงไปด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรมไว้ด้วยอย่างเต็มเปี่ยม คงจะเป็นการดีไม่น้อย หากทุกคนในสังคมช่วยกันอนุรักษ์ และให้ความสำคัญกับขนมไทย สมกับที่บรรพบุรุษของเราได้คิดค้น และพยายามทำขึ้นมา เพื่อให้ขนมไทย อยู่คู่คนไทยและประเทศไทย ไม่เลือนหายไปตามกาลเวลา

ประวัติขนมบัวลอย

ประวัติขนมบัวลอย


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติ บัวลอย
            
เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย หรือ เทศกาลตังโจ่ย คือ วันเปลี่ยนเทศกาลเป็นฤดูหนาว มีลักษณะเป็นวันที่พระอาทิตย์จะส่องแสงสั้นที่สุดหรือวันที่เป็นจุดสูงสุดในฤดูหนาว โดยเทศกาลไหว้ขนมบัวลอย ถือเป็นเทศกาลสุดท้ายของชาวไทยเชื้อสายจีนในรอบหนึ่งปีปฏิทิน ซึ่งในเทศกาลนี้จะมีการทำขนมบัวลอย หรือ ขนมอี๋ มาไหว้ฟ้าดิน ปึงเถ่ากง ตี่จู๋เอี๊ย (เจ้าที่) เพื่อขอบคุณที่ได้ช่วยให้การดำรงชีวิตของสมาชิกทุกคนในครอบครัวสามารถดำรงมาได้อย่างราบรื่นตลอดปีที่ผ่านมา และเพื่อขอพรให้ช่วยคุ้มครองคนในครอบครัวด้วย

             สำหรับขนมบัวลอยหรือขนมอี๋ ที่ใช้ในการไหว้จะทำจากแป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำต้มสุกจนเข้าที่และปั้นเป็นเม็ดกลม ๆ เล็ก ๆ นิยมผสมสีชมพูและสีขาว เมื่อปั้นเสร็จแล้วจึงนำลงไปต้มในน้ำเดือด คล้ายกับการทำบัวลอยน้ำกะทิของคนไทย แต่ขนมอี๋จะใช้น้ำตาลทรายขาวหรือน้ำตาลทรายแดงแทนกะทิ ที่สำคัญจะต้องมีขนมอี๋ลูกใหญ่ที่เรียกว่า อีโบ้ ใส่ลงไปในถ้วยขนมอี๋ที่จะไหว้ถ้วยละหนึ่งลูกด้วย

            ลักษณะกลมของขนมอี๋ สื่อความหมายถึง ความกลมเกลียวกันของคนในครอบครัว สีแดงและสีชมพู สื่อความหมายถึง ความโชคดี นอกจากนี้ ขนมอี๋ ยังถือเป็นขนมมงคลของชาวไทยเชื้อสายจีน ที่นิยมทำขึ้นในงานแต่งงานอีกด้วย

            ทั้งนี้ตามหลักของปฏิทินจีน เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย จะไม่มีวันที่ระบุอย่างแน่ชัดตายตัว แต่จะตรงกับเดือน 11 ตามปฏิทินจีน หรือเดือนธันวาคม ซึ่งเรียกว่า เกี๋ยวง๊วย แต่ตามปฏิทินทางสุริยคติสากล วันตังโจ่ย จะตรงกับวันที่ 21 หรือ 22 ธันวาคมของทุกปี สำหรับปี 2558 วันไหว้ขนมบัวลอย ตรงกับวันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2558

ประวัติขนมทองหยิบ-ทองหยอด

ประวัติขนมทองหยิบ-ทองหยอด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติ ทองหยิบ

เริ่มมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศทั้งชาติตะวันออกและตะวันตก ไทยเรายิ่งรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนบางทีคนรุ่นหลังแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า อะไรคือขนมไทยแท้ๆ อะไรที่เรายืมเค้ามา เช่น ทองหยิบ ทองหยอดและฝอยทอง หลายท่านอาจคิดว่าเป็นของไทยแท้ๆ แต่ความจริงแล้วมีต้นกำเนิดจากประเทศโปรตุเกส โดย “มารี กีมาร์” หรือ “ท้าวทองกีบม้า”
“ท้าวทองกีบม้า” หรือ “มารี กีมาร์” เกิดเมื่อ พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 แต่บางแห่งก็ว่า พ.ศ. 2209 โดยยึดหลักจากการแต่งงานของเธอที่มีขึ้นในปี พ.ศ. 2225 และขณะนั้น มารี กีมาร์ มีอายุเพียง 16 ปี บิดาชื่อ “ฟานิก (Phanick)” เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอล ผู้เคร่งศาสนา ส่วนมารดาชื่อ “อุรสุลา ยามาดา (Ursula Yamada)” ซึ่งมีเชื่อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ภายหลังจากพวกซามูไรชุดแรกจะเดินทางเข้ามาเป็นทหารอาสา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่นานนัก
ชีวิตช่วงหนึ่งของ “ท้าวทองกีบม้า” ได้เข้าไปรับราชการในพระราชวังตำแหน่ง “หัวหน้าห้องเครื่องต้น” ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และเก็บผลไม้ของเสวย มีพนักงานอยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน จำนวน 2,000 คน ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ชื่นชม ยกย่อง มีเงินคืนทองพระคลังปีละมากๆ ระหว่างที่รับราชการนี่เอง มารี กีมาร์ ได้สอนการทำขนมหวานจำพวก ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิงและอื่นๆ ให้แก่ผู้ทำงานอยู่กับเธอและสาวๆ เหล่านั้น ได้นำมาถ่ายทอดต่อมายังแต่ละครอบครัวกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนปัจจุบันนี้
ถึงแม้ว่า “มารี กีมาร์” หรือ “ท้าวทองกีบม้า” จะมีชาติกำเนิดเป็นชาวต่างชาติ แต่เธอก็เกิด เติบโต มีชีวิตอยูในเมืองไทยจวบจนหมดสิ้นอายุขัย นอกจากนั้น ยังได้ทิ้งสิ่งที่เธอค้นคิดให้เป็นมรดกตกทอดมาสู่คนรุ่นหลัง ได้กล่าวขวัญถึงด้วยความภาคภูมิ “ท้าวทองกีบม้า เจ้าตำรับอาหารไทย”

ประวัติขนมฝอยทอง

ประวัติขนมฝอยทอง


ขนมไทยอีกชนิดหนึ่งที่มีประวัติอันยาวนาน เกิดขึ้นในรัชสมัย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีชาวโปรตุเกสนำสูตรขนมฝอยทองมาเผยแพร่
ให้แก่คนไทย ซึ่งตามปกติขนมไทยแท้ๆจะไม่เอาไข่เป็นส่วนผสมในการทำ
ขนมกันนัก ส่วนใหญ่จะเป็น แป้ง กะทิ น้ำตาล มะพร้าวมากกว่าอย่างอื่น
เมื่อชาวโปรตุเกสเข้ามาค้าขายกับคนไทยในยุคนั้นก็จะพาแม่บ้านมาด้วย
เลยได้สอนการทำฝอยทองให้แก่คนไทยจนเป็นที่ถูกอกถูกใจทำกินจนถึงปัจจุบัน
ฝอยทอง (โปรตุเกส: fios de ovos) [1] เป็นขนมโปรตุเกส ลักษณะเป็นเส้นฝอยๆ สีทอง ทำจากไข่แดงของไข่เป็ด เคี่ยวในน้ำเดือดและน้ำตาลทราย ชาวโปรตุเกสใช้รับประทานกับขนมปัง กับอาหารมื้อหลักจำพวกเนื้อสัตว์ และใช้รับประทานกับขนมเค้ก [2] โดยมีกำเนิดจากเมืองอาไวโร่ (โปรตุเกส: Aveiro) เมืองชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส
ฝอยทองแพร่เข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับทองหยิบและทองหยอด ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดย ดอนญ่า มารี กีมาร์ เดอปิน่า (ท้าวทองกีบม้า, พ.ศ. 2202-2265) ลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น ภริยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ท้าวทองกีบม้ามีหน้าที่เป็นหัวหน้าห้องเครื่องต้น เป็นผู้ทำอาหารเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตจากฝรั่งเศสที่มาเยือนกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น
ขนมจัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยใช้คำว่าสำรับกับข้าวคาว-หวาน โดยทั่วไปประชาชนจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยง นับตั้งแต่การทำบุญ
เลี้ยงพระ งานมงคลและงานพิธีการ อาหารหวานที่จัดเป็นสำรับจะต้องประกอบด้วย ของหวานอย่างน้อย 5 สิ่ง ซึ่งต้องเลือกให้มีรสชาติ สีสัน ชนิด ตลอดจนลักษณะที่
กลมกลืนกัน แต่ละสำรับจะต้องมีผลไม้ 10 ที่ และขนมเป็นน้ำ 1 ที่เสมอ
ประเทศไทยครั้งยังเป็นสยามประเทศได้ติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยส่งเสริมการขายสินค้าซึ่งกันและกัน ตลอดจนแลกเปลี่ยน
วัฒนธรรมด้านอาหารการกินร่วมไปด้วย ต่อมาในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ อย่างกว้างขวางไทยได้รับเอาวัฒนธรรมด้าน
อาหารของชาติต่าง ๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคนิสัยแบบไทย ๆ จนทำให้คนรุ่นหลัง ๆ แยกไม่ออกว่า
อะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ ๆ และอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่น เช่น ขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
จากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น สัญชาติโปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงศุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น ไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบ ทองหยอด และ
ฝอยทองมาเท่านั้น หากยังให้ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย ส่วนใหญ่ตำรับขนมที่ใส่มักเป็น “ของเทศ” เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอดจาก
โปรตุเกส มัสกอดจากสกอตต์
ขนมไทย เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำ ตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการทำ
ที่กลมกลืน พิถีพิถัน ในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทาน ขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะ
ของขนมชนิดนั้น ๆ
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุก ๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่าง ๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้น ๆ งานสิริมงคล
ต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกัน
ยืดยาวมีอายุยืน ขนมชั้น ก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น

ประวัติวันวาเลนไทน์

 ประวัติวันวาเลนไทน์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติ วันวาเลนไทน์

  กำเนิดวันวาเลนไทน์ เทศกาลวาเลนไทน์ เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ยุคที่จักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ ในยุคนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี ถูกจัดให้เป็นวันหยุด เพื่อเป็นเกียรติแต่เทพเจ้าจูโน่ผู้เป็นจักรพรรดินีแห่งเทพเจ้าโรมัน นอกจากนี้แล้วพระองค์ยังทรงเป็นเทพเจ้าแห่งอิสตรีเพศและการแต่งงาน และในวันถัดมา คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เป็นวันเริ่มต้นเทศกาลเฉลิมฉลองแห่งลูเพอร์คาร์เลีย การดำเนินชีวิตของหนุ่มสาวจะถูกตัดขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม มีขนบธรรมเนียมอย่างหนึ่งของชายหนุ่มก็คือ การจับฉลาก ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ก่อนที่จะเริ่มต้นเทศกาลลูเพอร์คาร์เลีย ชื่อของเด็กสาวจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษและใส่ลงในไห ชายหนุ่มแต่ละคนจะจับฉลากเพื่อเลือกคู่ในเทศกาลเฉลิมฉลองนี้ บ่อยครั้งที่หนุ่มสาวต่างถูกใจกัน และแต่งงานกันในเวลาต่อมา
          ในรัชสมัยของจักรพรรดิคลอดิอัสที่ 2 แห่งโรม พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีใจคอดุร้าย และทรงนิยมการทำสงครามนองเลือด ได้ทรงตระหนักว่าเหตุที่ชายหนุ่มส่วนมากไม่ประสงค์จะเข้าร่วมในกองทัพ เนื่องมาจาก ไม่อยากจากคู่รัก และครอบครัวไป จึงทรงมีพระราชโองการสั่งห้ามมิให้มีการจัดพิธีหมั้นและแต่งงานกันในโรมโดยเด็ดขาด ทำให้ประชาชนทุกข์ใจเป็นอย่างยิ่ง ขณะนั้นเอง พระรูปหนึ่งนามว่า เซนต์วาเลนไทน์ซึ่งอาศัยอยู่ในโทรม ได้ร่วมมือกับเซนต์มาริอัส จัดพิธีแต่งงานให้กับชาวคริสต์หลายคู่ และด้วยความปรารถนาดีของท่านนี้เอง จึงทำให้ท่านถูกตัดสินประหารชีวิตโดยเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ.270 ซึ่งตรงกับเทศกาลลูเพอร์คาร์เลีย ตามประเพณีโบราณพอดี ณ โอกาสนี้เอง กลุ่มคนนอกศาสนาได้รื้อฟื้นประเพณีจับฉลากขึ้นมาใหม่ โดยชายหนุ่มจะเป็นผู้เขียนชื่อหญิงสาวลงไปด้วยตัวเอง ต่อมาพระในนิกายโรมันคาทอลิกจึงเลือกให้วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความรัก และดูเหมือนว่ายังคงเป็นธรรมเนียม ที่ชายหนุ่มจะเลือกหญิงสาวที่ตนเองพึงใจในวันวาเลนไทน์ สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

ประวัติวันขึ้นปีใหม่
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติ วันปีใหม่

          วันขึ้นปีใหม่ ตามความหมายในพจนานุกรมให้ความหมายคำว่า "ปี" หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน หรือ เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ ดังนั้น "ปีใหม่" จึงหมายถึง การขึ้นรอบใหม่หลังจาก 12 เดือน หรือ 1 ปี

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่

          วันขึ้นปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยตามความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนีย เริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทินโดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก ๆ 4 ปี

          ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติก ได้นำการปฏิบัติของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไขอีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้น จนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ (ประมาณ 46 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อโยซิเยนิส มาปรับปรุงให้หนึ่งปีมี 365 วัน โดยทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน เมื่อเพิ่มให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ให้ทุกๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

          และในวันที่ 21 มีนาคม ตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตามทิศตะวันตก วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมงเท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March) 

          แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้นพระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วัน จากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (ใช้เฉพาะในปี พ.ศ. 2125) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่าปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้ วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา